แหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเพลง และดนตรี แนะนำเพลงใหม่ ประวัติวงดนตรีต่าง ๆ ทั้งในไทย และต่างประเทศ ที่น่าสนใจ

ดนตรีไทยร่วมสมัย มีการผสมผสานระหว่าง เครื่องดนตรีไทยเดิมกับดนตรีสากล ไพเราะสุด ๆ

ดนตรีไทยร่วมสมัย ที่น่าสนใจและมีการนำแนวเพลงมาผสมผสานกันเป็นแนวเพลงใหม่ ๆ ยอดนิยมในหลาย ๆ ยุค

ดนตรีไทยร่วมสมัย ที่ปรากฏขึ้นครั้งแรก เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง “ ไผ่แดง ” ในสมัยก่อนมีเหตุการณ์ ที่ยังเป็นข้อถกเถียงกัน ในเรื่องที่นำเครื่องดนตรีไทย มาเล่นร่วมกับเครื่องดนตรี ของทางตะวันตกแล้วลงตัวอย่างไม่น่าเชื่อ อาจจะเป็นได้เพราะมันคงเป็นเรื่อง ดนตรีไทยร่วมสมัย ที่น่าแปลกและเป็นเรื่องใหม่ ๆ ต้องจับตากันในช่วงนั้น

และแม้หลายคนจะมองว่า เป็นสิ่งแปลกใหม่ของวงการภาพยนตร์ไทย แต่ในมุมมองของผู้ที่อยู่ในวงการ ดนตรีไทยส่วนใหญ่ กลับคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากพวกเขามองว่า คือการทำผิดประเพณีที่ยึดถือกันมายาวนาน

ดนตรีไทยร่วมสมัย

ซึ่งเสียงเปียโนที่อยู่ใน บท เพลง ของภาพยนตร์นั้น ก็คือผลงานของอาจารย์สอนวิชาดนตรี การละครสัญชาติอเมริกา ที่ชื่อว่า “ บรูซ แกสตัน ” (Bruce Gaston) เขาคือคนที่สร้างสรรค์ ดนตรีไทยประยุกต์ เพลงไทยร่วมสมัย เช่น ในภาพยนตร์เรื่อง “ ไผ่แดง ” นั่นเอง

บรูซ แกสตัน ศึกษาในสาขาเกี่ยวกับดนตรี การประพันธ์เพลงและปรัชญา และเขาได้เรียนจบปริญญาโทตอนอายุ 23 ปี เขาสามารถเล่นเครื่องดนตรีตะวันตก ได้หลากหลายชนิด เขามีความเชี่ยวชาญในการเล่นเปียโน และออร์แกนอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องดนตรีที่เล่นมา ตั้งแต่อายุได้ 5 ขวบ

ในสมัยที่เกิดสงครามเย็น เป็นการตอบโต้กันระหว่างกลุ่มเสรีนิยม กับคอมมิวนิสต์ทางประเทศสหรัฐอเมริกา เชิญชวนให้ผู้ชายอาสาร่วมทำสงคราม สู้รบกับคอมมิวนิสต์ในประเทศเวียดนาม

ซึ่งเขาอยากมาเป็น อาจารย์ที่ประเทศไทย แทนที่จะเป็นทหาร ตามคำชวนของ ประเทศสหรัฐ ฯ เนื่องจากเขาอยากจะนำ ความรู้ที่ได้เรียนมา ส่งเสริมคนแทนที่ จะมาทำร้ายใคร

และปี พ.ศ.2513 เขาได้มาเป็น อาจารย์สอนดนตรี ในโรงเรียนผดุงราษฎร์ จังหวัดพิษณุโลก นานประมาณ 8 เดือน ตลอดที่เขาอยู่ในจังหวัดนี้ ทุกเช้าก่อนไปโรงเรียน เขาจะเข้าไปที่อุโบสถวัดมหาธาตุ ที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช ที่ชาวบ้านให้ความเคารพ

ซึ่งเขาจะเจอผู้คน นั่งเล่นระนาดตรงบริเวณประตูทางเข้า และในช่วงเย็นบางวัน จะได้ยินเสียงคนเล่นดนตรีไทย โดยเสียงดนตรีที่ได้ยิน ก็คือปี่พาทย์นางหงส์ ที่บรรเลงในงานเผาศพ ตรงป่าช้าใกล้กับที่พัก จึงทำให้เขามีความคิดว่า ดนตรีไทยนั้นมีเอกลักษณ์

บวกกับที่เขา เป็นนัก ดนตรี เพลงคลาสสิก เขาสัมผัสได้จากประสบการณ์ ว่าดนตรีไทยเป็นสิ่งที่ทรงพลัง ซึ่งมีความละเอียดอ่อนมาก จากความรู้สึกลึกซึ้ง ยิ่งเกิดความประทับใจ กระตุ้นให้อยากศึกษา ดนตรีไทยร่วมสมัย จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาครั้งแรก ในการฝึกเล่นเล่นดนตรีไทย

ในเวลาต่อมา เขาได้ไปสอนดนตรี ที่วิทยาลัยพายัพ ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเขาคืออาจารย์สอนดนตรี ที่นำเอาวิชาดนตรี มาสอนในระดับปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ และยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ดนตรีพื้นบ้านล้านนา รวมไปถึงดนตรีของ เหล่าคนพื้นเมืองต่าง ๆ ด้วยความใฝ่รู้

จนมาถึงปี พ.ศ.2513 กรมศิลปากรได้จัดตั้ง โรงเรียนนาฏศิลป์เชียงใหม่ ที่เป็นโรงเรียนในส่วนภาคขึ้นมา เขาที่หลงใหลในดนตรีไทย จึงขอเรียนระนาดเอก กับครูสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ครูดนตรีไทยชื่อดัง อีกทั้งเรียนปี่พาทย์รอบวง กับครูโสภณ ซื่อต่อชาติ ที่เป็นหนึ่งในศิษย์เอก ของครูหลวงประดิษฐ์ ไพเราะ ที่เลื่องชื่อในเชียงใหม่

ดนตรีไทยร่วมสมัย

ประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ ดนตรีอย่างมากมาย จากทางตะวันตกและตะวันออก ทำให้ได้ไอเดียที่จะเอาดนตรีสากล กับดนตรีไทยมาบรรเลงร่วมกัน โดยเรื่องของเรียนการสอน ในวิทยาลัยพายัพ และได้พยายามทดลองประยุกต์ออกมา สร้างผลงานเพลงประกอบในเรื่อง “ชูชก” จากวรรณคดีชาดกทศชาติ ตอนพระเวสสันดร

ซึ่งผลงานชิ้นนี้ ลงไทยร่วมสมัย เรียกว่า การเอาความรู้ เกี่ยวกับการประพันธ์เพลง มาประยุกต์และใช้การขับร้อง ผสมผสานกับวงดนตรี ปี่พาทย์ กังสดาล ด้วยผลงานชิ้นนี้ ทำให้เขาเริ่มกลายเป็นที่รู้จัก แต่ในขณะเดียวกัน ก็กลับมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ จากกลุ่มคนใน วงการดนตรีไทยเช่นกัน

อีกเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ที่เหมือนต้นกำเนิดของ ตำนานดนตรีไทยร่วมสมัย นั้นได้เกิดขึ้นตอนที่ เขาฟังเพลงชื่อ “ชเวดากอง” ที่งานมหกรรมดนตรีไทย โดยทำนองเพลง รวมถึงจังหวะดนตรี จะไม่เหมือนกับ เพลงดนตรีไทยเดิม จากที่ไหนมาก่อน ทำให้เกิดความสนใจ ต้องการทราบที่มาของบทเพลงดังกล่าว

เขาได้ยินคำบอกเล่ามาจาก ครูมนตรี ตราโมท บรมครูดนตรีไทยในสมัยนั้น ว่าคือผลงานจากครูบุญยงค์ เกตุคง ไม่เพียงเท่านี้ ยังแนะนำให้เขาเดินทางไปสมัครเป็นศิษย์ กับอาจารย์ระนาดระดับฝีมือขั้นเทพสุด ๆ ของเมืองไทยท่านนี้ ที่สำนักดนตรีไทย เทศบาลกรุงเทพมหานคร

ดนตรีไทยร่วมสมัย อาจารย์บรูซ ในสมัยนั้นมีความเพียร เดินทางไปกลับเชียงใหม่กรุงเทพฯ ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ในการฝึกฝนดนตรีไทย กับอาจารย์ระนาด ฝีมือชั้นครูเป็นระยะเวลา 1 ปี

ทำให้อาจารย์ถึงความตั้งใจอย่างเต็มเปี่ยม และความใฝ่รู้ของศิษย์ จึงยอมสอนความรู้ เทคนิคการเล่นดนตรี ให้อย่างเต็มที่ การที่ได้เรียนรู้กับ ครูบุญยงค์ เกตุคง ผู้ซึ่งเป็นนักดนตรีไทย ที่ร่ำเรียนวิชาจาก สุดยอดอาจารย์ ในสายดนตรีไทยมากมาย และคือนักระนาด ที่มีฝีมือการเล่นชั้นครู ต้องบอกเลยว่าหาตัวจับได้ยากมาก ๆ

ซึ่งอดีตนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล ให้การชื่นชมว่าเสียงระนาด จากการเล่นของอาจารย์ ไพเราะราวกับไข่มุก กระทบกับจานหยก ด้วยเหตุนี้เอง อาจารย์บรูซ จึงได้รับความรู้ และสามารถทางด้านดนตรีปี่พาทย์ ที่มีฝีมือระดับชั้นครูจริง ๆ และหานักระนาดหรือแม้แต่ปี่พาทย์ ที่ฝีมือแบบนี้ยากจะเทียบเคียง

หากพูดถึงดนตรีสมัยใหม่นั้น อาจารย์บรูซเรียกได้ว่า มีความสามารถอย่างมาก เนื่องจากเป็นศิษย์ของจอห์น เคจ (John Cage) ครูเปียโน และผู้มีชื่อเสียง ในวงการดนตรีสัญชาติอเมริกา ซึ่งเป็นผู้มีบทบาท ในยุคสงครามโลกครั้งที่สองของอเมริกา และเป็นแกนนำหลัก ต่อประเด็นที่สำคัญในวงการดนตรี

ดนตรีไทยร่วมสมัย

ในเวลาต่อมา อาจารย์บรูซ ในตอนนั้นคืออาจารย์ ที่สอนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตัดสินใจลาออก มาเดินในเส้นทางอาชีพศิลปิน และเป็นหัวเรือร่วมกับครูบุญยงค์ เกตุคง อีกทั้งเหล่านักดนตรีระดับฝีมือ แบบตั้งอกตั้งใจเลยทีเดียว

วงดนตรีไทยร่วมสมัย หมายถึง การร่วมกันทำวงดนตรีไทยร่วมสมัย และได้ตั้งชื่อว่า “ วงฟองน้ำ ” มีการเอาเครื่องดนตรีไทย ที่ผสมผสานกับเครื่องดนตรีสากล อย่าง เปียโน กลอง เป็นต้น ถือว่าเป็นความแปลกใหม่ ในวงการดนตรีไทย อย่างที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อน

วงฟองน้ำ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ โดยการเอาดนตรีไทยเดิม มาเล่นร่วมกับดนตรีตะวันตก อีกทั้งใช้ความรู้ในการประพันธ์ดนตรี ในยุคศตวรรษที่ 30 เรียกได้ว่าคือ ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในวงการดนตรีไทย ที่ฉีกออกจากกฎเดิม ๆ เพลงไทยร่วมสมัย มีเพลงอะไรบ้าง เช่น เพชรในตม ช้างประสานงา ระบำอัคคี เป็นต้น

แต่ยังคงกลิ่นอายความเป็นไทยอยู่ อาจารย์บรูซ เคยพูดกับศิษย์เอาไว้ว่า วงฟองน้ำ คือสิ่งที่เชื่อมระหว่าง นักดนตรีไทยเดิม กับนักดนตรีสากล ที่มีอยู่หลายประเทศทั่วโลก ซึ่งวัตถุประสงค์ต้องการให้เป็นจุดเริ่มต้น ดนตรีไทยร่วมสมัย ของการผสมผสานดนตรีไทยให้มีความร่วมสมัย

และในปี พ.ศ. 2529 วงฟองน้ำได้มีการบรรเลงเพลง Thailand the golden Paradise ซึ่งเป็นบทเพลง เพื่อเป็นการรำลึกถึงการท่องเที่ยวไทย และได้รับความนิยมอย่างมาก ในเวลาต่อมาได้ถูกใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์ประเทศไทย ให้ผู้คนทั่วโลกได้รู้จักกันอีกด้วย @UFA-X10 

 

เรียบเรียงโดย อลิส