เพลงคลาสสิก ไม่ว่าจะยุคจะสมัยไหน ก็สามารถนำมาฟังได้ตลอดกาล และยังมีการวิจัยว่าเป็นแนวเพลงที่ช่วยให้เด็กเล็กฟังแล้วฉลาดอีกด้วย
เพลงคลาสสิก ที่หลายคนเชื่อว่า การฟังเพลงหรือขับร้อง จะช่วยพัฒนาสมอง เพิ่มเรื่องของความจํา และได้ฝึกทักษะการพูด ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เหมือนเป็นการส่งเสริมพัฒนาการ ของสมองทางฝั่งขวา อีกทั้งยังช่วยเพิ่มไอคิว และมีสมาธิมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทํางาน
ซึ่งมีข้อมูลที่ได้รับการยอมรับแล้ว เพลงคลาสสิก คือ การฟังเพลง “Mozart Effect” ช่วยเพิ่มสมาธิได้ยิ่งขึ้น และยังช่วยลดอาการของโรคบางอย่างได้ อย่างเช่น ไมเกรน อัลไซเมอร์ โรคซึมเศร้า อีกทั้งยังช่วยลดความเครียด อาการวิตกกังวล ซึ่งมีการรักษาอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต รวมถึงความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย
วอล์ฟกัง อามาเดอุส โมซาร์ท เกิดเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2295 เสียชีวิต 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2329 เขาคือนักประพันธ์ ดนตรีคลาสสิก สัญชาติออสเตรียที่โด่งดังไปทั่วโลก เขาเกิดที่เมืองซาลซ์ บูร์ก ซึ่งได้ประพันธ์เพลงมากกว่า 800 ชิ้น ไม่ว่าจะเป็น เพลงคลาสสิก เปียโน โอเปร่า ชื่อ ดอน โจวันนี้ (Don Giovanni) หรือขลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflite)
ในตอนนี้ผลงานทั้งหมด ของเขาได้ถูกเอามาวาง จําหน่ายในรูปแบบสื่อต่าง ๆ ที่หลากหลาย และถูกเอาไปใช้ประโยชน์กัน อย่างแพร่หลายทั่วโลก ทางด้านส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
โดยบทเพลงของ Mozart ได้รับการขนานนามว่า มีเอกลักษณ์ ที่สุดในยุคคลาสสิก (ค.ศ. 1731-1814) ในเวลาต่อมา มีการเอาไปใช้ประโยชน์ เรื่องของการส่งเสริม การทำงานของสมอง ในเด็กทารก
ซึ่งมีข้อมูลเปิดเผยว่า หากทารกได้ฟังบท เพลง ของ Mozart เป็นประจํา เมื่อเติบโตขึ้นจะทำให้มีพัฒนาการ ทางสมองที่ดี ไม่เพียงเท่านี้ ข้อมูลดังกล่าวยังได้รับการยอมรับ เอาไปใช้ประโยชน์กัน อย่างแพร่หลายมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้เอง รัฐจอร์เจียของ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการออกมาตรการให้ครอบครัวที่มี ทารกเกิดใหม่ทุกคน ต้องได้รับการแจกแผ่นเสียงเพลงของ Mozart อีกทั้งยังมีรัฐฟลอริดา ที่ออกมาตรการให้ เยาวชนนักเรียนทุกคน ต้องฟังเพลงและดนตรีคลาสสิกทุกวัน ในโรงเรียนอีกด้วย พวกเขามองว่าเพลงคลาสสิก คือบทเพลงที่เป็นประโยชน์ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ดนตรีคลาสสิก ที่หลายคนถือว่า คือเพลงที่ไพเราะ และเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ เป็นดนตรีทางฝั่งยุโรป ที่มีมาอย่างยาวนาน มีเอกลักษณ์และมีประโยชน์กับผู้คนทั่วโลก เนื่องจากได้รับการยกย่องว่า คือเพลงคลาสสิกของเกือบทุกเชื้อชาติ ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติใด ก็สามารถเข้าถึงบทเพลงประเภทนี้ได้
เรียกได้ว่า เป็นเพลงที่ทรงพลัง และยังช่วยทำให้ปลดปล่อยความรู้สึก รวมถึงอารมณ์ที่ขึ้น ๆ ลง ๆ ในรูปแบบของ มนุษย์ได้ดีอีกด้วย บทเพลงประเภทนี้ ยังถือว่ามีส่วนช่วย ในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ได้ดีอีกด้วย ซึ่งดนตรีประเภทนี้ มีผลกับคลื่นสมองของผู้คนโดยตรง อย่างการฟังเพลงคลาสสิค บางเพลง จะช่วยให้สมาธิดีขึ้น
โดยข้อมูลการศึกษานี้ เจาะลึกไปถึงเรื่องการฟังเพลง ของทุก ๆ วิชา อย่างหากต้องสอบคณิตศาสตร์ จะฟังเพลงแบบไหน จะสอบวิทยาศาสตร์ ต้องฟังเพลงแบบไหน ถ้าอยากให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ต้องฟังเพลงแบบไหน ถือว่ายังเป็นเรื่องที่นักวิชาการ ต้องทดลองและคิดค้นกันต่อไป
ในปัจจุบันวงการดนตรี และโรงเรียนดนตรี ได้มีความนิยม มาอย่างยาวนาน ที่เห็นว่าการฟัง เพลงคลาสสิค โมสาร์ท รวมไปถึงดนตรีคลาสสิค ที่หลายคนเรียกว่า โมสาร์ทเอฟเฟกต์ (Mozart effect) นั้น ส่งผลให้เด็กฉลาด
ในช่วงของกระแสของการตลาด ยังเกิดข้อโต้เถียง อีกทั้งยังมีการวิจัยเพิ่มเติมในเรื่องของ โมสาร์ทเอฟเฟกต์ อีกหลายวิธีการจากการวิจัยในเรื่อง การเชื่อมโยงในการฟังเพลง ของโมสาร์ทและ เพลงคลาสสิคฝรั่ง ที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการ ทางสมองของเด็ก ๆ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
จากข้อมูลที่ได้รับ การยอมรับอย่างแพร่หลาย มีการเปิดเผยว่า ไม่พบความเกี่ยวข้องของระดับสติปัญญา (Intelligence Quotient) ในเยาวชนกับการฟังเพลงคลาสสิก
เพลงคลาสสิก โดยสรุปก็คือความฉลาด เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ที่ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ จากการฟังเพลง เพราะฉะนั้นความเชื่อเรื่อง การฟังเพลงของโมสาร์ท และการฟังเพลงคลาสสิค ส่งผลให้เยาวชนฉลาด ถือว่าเป็นข้อมูลที่ไม่ยังเอามาอ้างอิงไม่ได้
ซึ่งข้อมูลที่ได้วิจัย การศึกษามีการเปิดเผย เรื่องราวข้อเท็จจริงต่องานวิจัยเมื่อปี 1991 อีกทั้งในงานวิจัย ได้แสดงให้เห็นว่า การฟังดนตรีนั้นไม่สามารถเพิ่มระดับความฉลาด ให้เพิ่มมากขึ้น แต่การเล่นดนตรีจะช่วยส่งเสริม การทำงานของสมอง ในด้านต่าง ๆ ได้ดีกว่า
ซึ่งในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมกว่า 30 ปีที่ผ่านมา ผู้คนในหลายประเทศทั่วโลก ให้ความสำคัญ ทางด้านความฉลาด (I.Q.) น้อยลง แต่จะเน้นน้ำหนัก
และให้ความสำคัญ ทางด้านทักษะ การจัดการชีวิต (Executive Functions) ให้กับเยาวชนกันมากขึ้น ในปัจจุบันมีงานวิจัย เกี่ยวกับระบบประสาทวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการยอมรับว่า การเล่นดนตรี มีผลกับการพัฒนา ทางด้านสมอง
การเล่นดนตรี ถือว่าเป็นสิ่งที่ได้รับ ความสนใจจากนักวิชาการและนักวิจัย ซึ่งจะมุ่งเน้น เรื่องประสิทธิภาพของ การบังคับจิตใจและจัดการตนเอง ( Brain Executive Functions ) เป็นอย่างยิ่ง
เพราะว่าพบงานวิจัย ที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ ที่ตอบโจทย์กว่าวิธีอื่น ไม่เพียงเท่านี้ ยังทำให้เกิดผลดีต่อการพัฒนา ศักยภาพด้านอื่น ๆ ของเยาวชนอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น พัฒนาการด้านภาษา พัฒนาการด้านมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นต้น
ดนตรีถือว่าคือ เรื่องของศาสตร์ และศิลป์ ซึ่งการนำดนตรี มาใช้ประโยชน์ในเรื่องของการส่งเสริม ศักยภาพด้านต่าง ๆ ถือว่าเป็นเรื่องที่ นักวิชาการและ นักประสาทวิทยาศาสตร์ ให้ความสนใจอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการให้ความสนใจ ในการฝึกเล่นดนตรี มีแนวโน้มมากขึ้น และไม่สามารถพูดได้ว่า การฟังเพลงทำให้เยาวชนฉลาดขึ้น แท้ที่จริงแล้วเรื่องนี้ไม่ได้ทำให้ ประโยชน์ของการฟังเพลงนั้น ลดลงแต่อย่างใด เพราะดนตรีล้วนแล้วสามารถจรรโลงใจ สามารถดึงผู้คนออกจากความหม่นหมอง อีกทั้งยังช่วยทำให้เกิดแรงบันดาลใจ ในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากมาย
ดังนั้นเป็นเรื่องที่ ต้องทำความเข้าใจสำหรับ เหล่าผู้ปกครองเด็ก ๆ ที่ต้องการส่งเสริมลูกน้อยของคุณ ตั้งแต่เยาว์วัยนั้น สามารถใช้เสียง เพลง หรือการเล่นดนตรีที่มีเสียง ควบคู่ไปกับการเล่นของเด็ก ๆ ได้
รวมถึงในช่วงวัยรุ่นเด็ก ๆ อาจจะมีการแสดงออกทางอารมณ์ ผ่านทางเครื่องเล่นดนตรี หรือการขับร้องดนตรีในแนวเพลงต่าง ๆ หรือจะเป็น เพลงคลาสสิคไทย ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนนะคะ
สุดท้ายนี้อลิสหวังว่า เพื่อน ๆ ทุกท่านน่าจะได้ประโยชน์และสาระ จากบทความนี้กันบ้างไม่มากก็น้อยค่ะ สำหรับวันนี้อลิสต้องขอตัวลาไปก่อนนะคะ เจอกันใหม่ในบทความหน้า จะมีบทความเรื่องอะไรที่น่าสนใจ และน่าติดตามอีกเพื่อน ๆ อย่าลืมตามมาอ่านกันนะคะ
เรียบเรียงโดย อลิส